สัญญาณเตือนโรคถุงน้ำดีอักเสบ

สัญญาณเตือนโรคถุงน้ำดีอักเสบ

ถุงน้ำดีเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญต่อระบบการย่อยอาหาร ถุงน้ำดีมีลักษณะคล้ายกับลูกแพร์ขนาดเล็กอยู่บริเวณหน้าท้องขวา ภายในจะมีน้ำสีเขียวหรือที่เรียกว่าน้ำดี ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหาร โดยการส่งผ่านท่อขนาดเล็กไปยังกระเพาะอาหาร ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับถุงน้ำดีที่พบได้บ่อย คือ โรคถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งโรคนี้อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้  หากทำการรักษาไม่ทัน ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักและสัญญาณเตือนจากโรคนี้กัน

โรคถุงน้ำดีอักเสบคืออะไร

ถุงน้ำดีอักเสบ (Choleycystitis) คือ การที่ถุงน้ำดีไม่สามารถส่งน้ำดีสร้างมาจากตับผ่านท่อน้ำดีไปยังลำไส้เล็ก เพื่อทำการย่อยอาหารได้ ทำให้ถุงน้ำดีมีการสะสมน้ำดีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ถุงน้ำดีเกิดการอักเสบ บวม และเกิดการแตกออก  เนื่องจากปริมาณของน้ำดีมีมากเกินไป

ชนิดของโรคถุงน้ำดี

โรคถุงน้ำดีอักเสบสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามระยะเวลาการแสดงอาการของโรค ดังนี้

1.ถุงน้ำดีชนิดเรื้อรัง (Chronic Cho lecystitis)

ถุงน้ำดีชนิดเรื้อรังเป็นโรคถุงน้ำดีที่ค่อย ๆ แสดงอาการออกมาทีละน้อย เนื่องจากความรุนแรงของการอักเสบ มีการเกิดขึ้นเล็กน้อยแล้วจึงค่อย ๆ ขยายวงกว้างออกไป จึงทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงเล็กน้อยในช่วงแรก ซึ่งลักษณะของอาการที่เกิดขึ้นจะไม่เด่นชัด เช่น แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบ ถึงแม้ว่าโรคถุงน้ำดีอักเสบชนิดเรื้อรังจะมีความรุนแรงน้อย แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุของถุงน้ำดีชนิดเฉียบพลันในอนาคตได้

2.ถุงน้ำดีอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute cholecystitis)

ถุงน้ำดีอักเสบชนิดเฉียบพลัน เป็นโรคถุงน้ำดีที่แสดงอาการอย่างรุนแรงในระยะเวลาสั้น ๆ โดยอาการที่พบ คือ ท้องเฟ้อ  เจ็บที่บริเวณใต้ชายโครงข้างขวาอย่างรุนแรง มีอาการปวดลึกร่วมด้วยคลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น ตาเหลือง ตัวเหลืองปัสสาวะสีเหลืองเข้ม อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการของถุงน้ำดีอักเสบขั้นรุนแรง แต่ถ้ามีอาการไข้สูง ท้องแข็ง และรู้สึกเจ็บปวดที่ภายในช่องท้องอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าถุงน้ำดีที่อักเสบเกิดการแตกออก ทำให้น้ำดีที่มีเชื้อเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ภายในช่องท้องแล้ว ดังนี้หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น จะต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที เพราะหากรักษาไม่ทันอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบ

สาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.นิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นิ่วที่เกิดจากคอเรสเตอรอล (Cholesterol Stones) มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว  เหลือง และเขียว กับนิ่วที่เกิดจากเม็ดสีบิลิรูบิน (Pigment Stones) จะมีสีคล้ำและเล็กกว่านิ่วที่เกิดจากคลอเลสเตอรอล  โดยนิ่วที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการสะสมตะกอนที่มาจากอาหารที่กินเข้าไป และผ่านเข้ามาในถุงน้ำดีทีละน้อยจนกลายเป็นก้อนและมีจำนวนมากขึ้น เมื่อนิ่วมีจำนวนมากขึ้น นิ่วบางส่วนจะเข้าไปอุดตันที่ท่อน้ำดี จนทำให้น้ำดีไม่สามารถไหลออกไปได้ ส่งผลให้ถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งนิ่วในถุงน้ำดีจัดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคถุงน้ำดีอักเสบได้

2.สาเหตุอื่น

สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคถุงน้ำดีอักเสบได้ คือ การได้รับอุบัติเหตุ, เนื้องอก, มะเร็ง, ท่อน้ำดีตีบ, เส้นเลือด หรือท่อน้ำดีเสื่อม  ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะทำให้ถุงน้ำดีเกิดการอักเสบได้ โดยในปัจจุบันพบว่าสาเหตุเหล่านี้มีอัตราการก่อให้เกิดถุงน้ำดีอักเสบเพียงร้อยละ 5 ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้น

การรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ

การรักษาโรคจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคว่าเป็นชนิดเรื้องรังหรือชนิดเฉียบพลัน ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ว่าอยู่ในระยะที่สามารถรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง ซึ่งแนวทางการรักษามีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

1.การรักษาแบบเบื้องต้น

การรักษาเบื้องต้นเป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคถุงน้ำดีอักเสบชนิดเรื้อรัง ที่อาการของโรคมีความรุนแรงน้อย โดยการรักษาแบบเบื้องต้นจะให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับถุงน้ำดี ซึ่งการรักษานี้จะค่อยทำให้นิ่วที่อุดตันถุงน้ำดีมีขนาดเล็กลงและสลายไป ส่งผลให้ถุงน้ำดีสามารถส่งน้ำดีไปตามท่อน้ำดีได้ตามปกติ

2.การผ่าตัด

สำหรับผู้ที่มีภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน จะต้องทำการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีที่อักเสบออกมาจากร่างกาย โดยการผ่าตัดในช่วงแรกจะใช้การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy) ในปัจจุบันยังใช้กับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหนักและมีภาวะถุงน้ำดีอักเสบ แต่การผ่าตัดแบบนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีแผลกว้างและฟื้นตัวได้ช้า ต่อมาได้มีการพัฒนาการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) เป็นการผ่าตัดที่ได้การยอมรับและนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

โดยการเจาะรูขนาดเล็กที่บริเวณหน้าท้องตรงกับตำแหน่งของถุงน้ำดีและสอดกล้องเข้าไปที่บริเวณถุงน้ำดี พร้อมทำการเลาะถุงน้ำดีออกจากตับ แล้วตัดขั้วที่เชื่อมต่อถุงน้ำดีกับท่อน้ำดี นำถุงน้ำดีที่มีภาวะอักเสบใส่ถุงปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันเชื้อที่อยู่ในถุงน้ำดีแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ และนำออกจากร่างกายทางสะดือ การผ่าตัดแบบส่องกล้อง มีแผลขนาดเล็ก ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว การเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย

จะเห็นว่าโรคถุงน้ำดีอักเสบมีสาเหตุมาจากอาหารเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอาหารที่มีคอเลสตอรอลสูง ดังนั้นควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ลดปริมาณคอเลสเตอรอล ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหากมีอาการปวดที่บริเวณช่องท้องด้านขวาเป็นประจำควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาและตรวจหาสาเหตุของอาการปวด แต่หากมีอาการปวดท้องบริเวณด้านขวา ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไข้สูง ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้ทันเวลา