ยาแก้อักเสบ คืออะไร

ยาแก้อักเสบ ยาสามัญฯ ที่ควรทำความรู้จัก

ยาแก้อักเสบ เป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาได้ทั่วไป โดยเป็นอีกหนึ่งยาที่มีคุณสมบัติรักษาอาการผิดปกติที่เกิดกับร่างกายได้เพียงเบื้องต้นและมีข้อจำกัด ซึ่งคุณรู้หรือไม่ ? ระหว่างยาแก้อักเสบกับยาปฏิชีวนะต่างกันอย่างไร แล้วยาแก้อักเสบ ดูดไขมัน  มีวิธีการใช้อย่างไร หากขาดความรู้ ยาชนิดนี้ก็สามารถสร้างผลเสียให้กับร่างกายได้เช่นกัน

ยาแก้อักเสบ คืออะไร

ยาต้านการอักเสบหรือที่หลาย ๆ คนรู้จักในชื่อยาแก้อักเสบ รูปแบบเม็ดสีขาว มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อ ลดการอาการบวม บรรเทาปวด ลดไข้ ลดอาการอักเสบ และลดรอยแดงได้ เป็นต้น ส่วนการออกฤทธิ์ของตัวยาชนิดนี้จะส่งผลต่ออาการอักเสบเท่านั้น  โดยอาการอักเสบต้องไม่ใช่เชื้อแบคทีเรียเป็นต้นเหตุ แต่จะช่วยลดอาการอักเสบที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น อาการอักเสบบริเวณกล้ามเนื้อ เนื่องจากกิจกรรมวัตรประจำวัน หรือการติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลทำให้คออักเสบก็สามารถใช้ได้เช่นกัน ตัวอย่างยาแก้อักเสบ คือ แอสไพริน, ไอบรูโพรเพน, ไดโคลลฟิแนค เป็นต้น

ยาแก้อักเสบกับยาปฏิชีวนะ ต่างกันอย่างไร?

ก่อนจะไปดูข้อแตกต่าง ต้องทำความเข้าใจยาปฏิชีวนะเสียก่อน เมื่อศึกษาอย่างจริงจังแล้วถือว่าไม่ได้เข้าใจยากแต่อย่างใด  เนื่องจากยาทั้ง 2 ชนิดนี้ มักเป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และนิยมใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่เพื่อน ๆ ต้องรู้เสียก่อนว่ายาทั้ง 2 ชนิดนี้ มีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นอย่าใช้ผิดประเภทเด็ดขาด

ยาปฏิชีวนะ คือ ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น หากรับประทานเพื่อหวังผลกำจัดไวรัส (ต้นเหตุอาการอักเสบและบวม ฯลฯ) ยาชนิดนี้จะสามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น เสมหะมีสีเขียว เพราะติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ต่อมทอนซิลเป็นหนอง อักเสบ เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ซึ่งยาปฏิชีวนะจะประกอบไปด้วยเลโวฟล็อกซาซิน, เพนนิซิลิน, อะม็อกซีซิลิน เป็นต้น

ดังนั้นระหว่างยาแก้อักเสบและยาปฏิชีวนะ มีความแตกต่างกันชัดเจน คือ ยาแก้อักเสบออกฤทธิ์เฉพาะอาการอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสเท่านั้น เช่น ลดอาการบวม, ปวดเมื่อย, มีไข้ เป็นต้น ส่วนยาปฏิชีวนะจะออกฤทธิ์เฉพาะฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ต่อมทอมซิลอักเสบ เป็นหนอง เป็นต้น

ผลเสียจากการใช้ยาผิดประเภท

นอกจากตัวยาจะไม่สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อตามอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้เหมาะสมแล้ว ร่างกายอาจได้รับผลเสียจากการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้อย่างสม่ำเสมออีกด้วย โดยเฉพาะยาแก้อักเสบ บางคนรับประทานประจำ เมื่อมีอาการเพียงเล็กน้อย ขอเตือนว่าอาจส่งผลกระทบกับร่างกาย ดังนี้

  • อาการดื้อยา การใช้ยาประเภทแก้อักเสบเป็นประจำ หรือการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ อาจส่งผลทำให้ร่างกายเกิดอาการดื้อยาได้ นับว่าเป็นอาการที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในอนาคต เพราะจะไม่มียาตัวใดสามารถรักษาร่างกายที่กำลังเกิดเชื้อดื้อยาได้
  • หากใช้ยาพร่ำเพื่อหรือใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ยาได้ อีกหนึ่งอาการที่อันตรายและสามารถเสียชีวิตได้อย่างฉับพลัน
  • หากทานยาปฏิชีวนะแทนยาแก้อักเสบ มีโอกาสสูงที่ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ อาจออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ เช่น แบคทีเรียลำไส้และส่งผลทำให้เชื้อแบคทีเรียร้ายกลับไปเติบโตแทน จนเกิดโรคแทรกซ้อนได้นั่นเอง

วิธีฟื้นฟูตนเอง หลีกเลี่ยงการทานยาแก้อักเสบมากเกินไป

ปัจจุบันมีพฤติกรรมการติดยาแก้อักเสบและยาปฏิชีวนะ เพียงเพราะว่ามีอาการป่วยเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งยังไม่นับรวมการใช้ยาผิดประเภทที่อาจส่งผลเสียในระยะยาว ดังนั้นลองมาดูวิธีการฟื้นฟูร่างกายจากอาการป่วยเบื้องต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานยา ดังนี้

  • มีไข้ เจ็บคอ หากพบว่าเริ่มมีน้ำมูก มีไข้เล็กน้อย ทดลองกดบริเวณต่อมทอมซิลเบา ๆ หากไม่เจ็บ สามารถรักษาเบื้องต้นด้วยการดื่มน้ำสะอาดในอุณหภูมิห้อง รวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนและการดื่มน้ำ คือ ยารักษาอาการไข้ที่ดีที่สุดในโลก
  • หากผู้บาดเจ็บไม่ได้มีประวัติโรคเบาหวาน แผลไม่ลึก แผลเรียบ ไม่มีสิ่งสกปรกตกข้างในแผล (ยกเว้นแผลรอยกัดจากสัตว์) และเป็นเพียงอาการเบื้องต้น คุณสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง เช่น ทำความสะอาดแผลให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล และปกปิดสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น เป็นต้น
  • หากเกิดอาการท้องเสีย โดยไม่มีไข้ สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้น ด้วยการรับประทานน้ำสะอาด ผสมเกลือแร่ และทำความสะอาดมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร, รับประทานอ่อน และหลีกเลี่ยงรสจัด เป็นต้น

สรุปแล้วยาแก้อักเสบ คือ ยาที่ใช้ในการรักษาอาการอักเสบที่เกิดจากไวรัสเท่านั้น ผู้ที่ต้องรับประทานยาลดอาการอักเสบ จึงต้องเข้าใจว่ายาแก้อักเสบกับยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาตัวเดียวกันเด็ดขาด เพราะหากใช้ผิดเป็นประจำ นอกจากอาการป่วยจะไม่หายแล้ว ยังมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนหรืออาการดื้อยาได้อีกด้วย